นิกายนี้ใช้หมวกสีแดงเป็นสัญลักษณ์ นิกายนี้ได้แตกแยกออกมาจากนิกายซุนนี ตามประวัติกล่าวว่า พวกชีอะฮ์ถือว่าต่อจากกาหลิบอะลีมาแล้ว เชื้อสายของอาลีควรจะได้รับการแต่งตั้งหรือทำการเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าทางศาสนาอิสลามออกมาอีก เพราะเชื่อกันว่าสาวก ผู้สืบต่อจากอะลีย่อมเป็นผู้ที่ได้รับคำสอนของอะลีโดยตรง ควรจะได้มีการสืบต่อศาสนาบ้าง เมื่อสิ้นอะลีแล้วจึงควรอย่างยิ่งที่จะหาผู้สมควรมาเป็นหัวหน้าใหม่และให้ชื่อว่า อิหม่าม อันหมายถึง หัวหน้าสุเหร่าหรือมัสยิด ซึ่งเป็นผู้สืบต่อศาสนาจากนบีมุฮัมมัด

นิกายชีอะฮ์นับถืออิหม่ามที่ถูกต้องจำนวน 12 คน คือ
- 1. อิหม่ามอะลี เป็นลูกพี่ลูกน้องและบุตรเขยของท่านศาสดา
- 2. อิหม่ามฮะซัน บุตรคนโตของอิหม่ามอะลี
- 3. อิหม่ามฮุเซน น้องชายของอิหม่ามที่ 2
- 4. อิหม่ามอะลี ซัยนุลอาบิดีน บุตรของอิหม่ามที่ 3
- 5. อิหม่ามมูฮัมมัด อัลบากิร บุตรของอิหม่ามที่ 4
- 6. อิหม่ามญะอ์ฟัร อัศศอดิก บุตรของอิหม่ามที่ 5
- 7. อิหม่ามมูซา อัลกาซิม บุตรของอิหม่ามที่ 6
- 8. อิมามอะลี อัรริฏอ บุตรของอิหม่ามที่ 7
- 9. อิหม่ามมุฮัมมัด อัตตะกีย์ บุตรของอิหม่ามที่ 8
- 10. อิหม่ามอะลี อันนะกีย์ บุตรของอิหม่ามที่ 9
- 11. อิหม่ามฮะซัน อัลอัสกะรีย์ บุตรของอิหม่ามที่ 10
- 12. อิหม่ามมุฮัมมัด (ผู้ได้ชื่อว่าอัลมะฮ์ดี) บุตรของอิหม่ามที่ 11
เนื่องจากอิหม่ามคนสุดท้ายสูญหายไปในปี ค.ศ. 878 มุสลิมนิกายชีอะฮ์เชื่อว่าท่าน ผู้นี้ยังมีชีวิตอยู่แต่หลบซ่อนไม่ยอมปรากฏตัว ชีอะฮ์ทั้งปวงจึงถือว่าปัจจุบันเป็นช่วงระยะเวลาแห่งการรอคอยการกลับมาของอิหมามคนสุดท้ายในฐานะของ มะฮ์ดี ซึ่งหมายถึง ผู้ถูกนำโดยพระเจ้า หรือผู้นำทางอันชอบในอนาคต ทำนองเดียวกันกับเมสสิอาหของศาสนายิว
นิกายชีอะฮ์มีคณะกรรมการบัณฑิตคณะหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ฮิตส์ (มุจญะตะฮิต) ทำหน้าที่ ชี้ขาดข้อขัดแย้งหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับลัทธิของตน
นิกายชีอะฮ์มีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศอิหร่าน อิรัก อินเดีย อัฟกานิสถาน และซีเรีย
สนับสนุนข้อมูลโดย ดูซีรี่ย์ใหม่ออนไลน์