หลักธรรมของศาสนาอิสราม

หลักธรรมของศาสนาอิสราม ที่สำคัญ

หลักธรรมของศาสนาอิสราม ที่สำคัญ

1.หลักศรัทธา 6 ประการ คำว่าศรัทธาสำหรับชาวมุสลิม หมายถึง ความเชื่อมันด้วยจิตใจโดยปราศจากการระแวงสงสัยหรือการโต้แย้งใดๆ หลักศรัทธาในศาสนาอิสรามมี 6 ประการคือ

    1.ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่นับถือศาสนาอิสรามต้องนับถือพระอัลลอฮแต่เพียงพระองค์เดียว
    2.ศรัทธาในบรรดามลาอีกะฮ ว่ามีจริง คำว่า “มลาอีกะฮ” หมายถึงทูตสวรรค์หรือเทวทูตของพระเจ้า เป็นคนกลางระหว่างพระเจ้ากับศาสดา เป็นวิญญานที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้
    3.ศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอาน
    4.ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต ในคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวถึงศาสนทูตว่าทั้งหมด 25 ท่าน ท่านแรกคือนบีอาดัม และท่านสุดท้ายคือ นบีมุฮัมมัด
    5.ศรัทธาในวันพิพากษา มุสลิมต้องเขื่อว่าโลกนี้ไม่จีรัง ต้องมีวันแตกสลาย
    6.ศรัทธาในกฏสภาวะ (ลิขิต) ของพระเจ้า ชาวมุสลิมเชื่อว่าพระเจ้าได้ทรงกำหนดกฏอันแน่นอนไว้ 2 ประเภท คือ กฎที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และทุกสิ่งเป็นไปตามที่ประประสงค์ของพระเจ้า เช่นการถือกำเนิดชาติพันธ์ รูปร่าง หน้าตาเป็นต้น และกฎที่ไม่ตายตัว เป็นกฎที่ดำเนินไปตามเหตุผล เช่นทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งพระเจ้าได้ประทานแนวทางชีวิตที่ดีงามพร้อมกับสติปัญญาของมนุษย์ ดังนั้นมุสลิมทุกคนต้องพยายามทำให้ดีที่สุด

2.หลักปฏิบัติ 5 ประการ หลักปฏิบัติคือ พิธีกรรมเพื่อให้เข้าสู่ความเป็นมุสลิมโดยสมบูรณ์ ซึ่งชาวมุสลิมต้องปฏิบัติศาสนกิจพร้อมทั้ง 3 ทาง คือ กาย วาจา ใจ อันถือเป็นความภักดีตลอดชีวิต หลักปฏิบัติ 5ประการมีดังนี้

    1.การปฏิญานตน ชาวมุสลิมทุกคนต้องปฏิญานตนยอมรับความเป็นพระเจ้าองค์เดียวของพระอัลลอฮและยอมรับในความเป็นศาสนทูตของท่านนบีมูฮัมมัด
    2.การะละหมาด การทำละหมาดเป็นการนมัสการพระเจ้าทั้งกายและจิตใจ ซึ่งการละหมาดจะทำวันละ 5 ครั้ง ได้แก่ เวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เวลากลางวัน เวลาบ่าย เวลาพลบค่ำ และเวลากลางคืน การทำละหมาดเริ่มเมื่ออายุ 10 ขวบจนสิ้นอายุ ยกเว้นผู้หญิงขณะมีรอบเดือน
    3.การถือศีลลด คือการละเว้น ยับยั้งและควบคุมตน โดยงดการบริโภคอาหาร น้ำดื่ม และร่วมประเวณี ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตกเป็นเวลา 1 เดือน ในเดือนรอมฏอน (เดือน 9 ทางจันทรคติของอิสลาม) การถือศีลอิเป็นหน้าที่ของชาวมุสลิมทุกคนที่มีอายุครบ 15 ปี เป็นต้นไป แต่ผ่อนผันในกรณีหญิงในขณะที่มีรอบเดือนและหลังคลอด บุคคลในระหว่างเดินทาง หญิงมีครรภ์ แม่ลูกอ่อน บุคคลที่มีสุขภาพไม่ปกติ มีโรคภัย คนชรา และบุคคลที่ทำงานหนัก
    4.การบริจากชะกาด หมายถึง การบริจาคทรัพย์เพื่อขัดเกลาจิตใจของผู้หญิงให้สะอาดบริสุทธิ์ลดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ให้มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
    5.การประกอบพิธีฮัจญ์ หมายถึง การเดินทางไปประกอบศาสกิจหรือจาริกแสวงบุญ ณ วิหารอัลกะฮ์ และสถานที่ต่างๆ ในนครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาราเบีย ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยให้ปฏิบัติเฉพาะบุคคลที่มีความสามารถเท่านั้น