ขนมหวานตำรับมุสลิม วัฒนธรรมความหลากหลาย บนจานอาหารอิสลาม

ขนมหวานมุสลิม อาหารที่ชวนให้เราไปค้นหา และไม่ใช่แค่รสชาติที่น่าลิ้มลอง แต่เสน่ห์อย่างหนึ่งคือการพาเราไปรู้จักกับวัฒนธรรมความหลากหลายของชาวมุสลิม ประชากรมุสลิม หรือ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศไทยมีจำนวน 6 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด โดยมีเชื้อสายทั้ง มลายู อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ ตุรกี เป็นต้น

การรับประทานขนมหวานของชาวมุสลิมนั้นคล้ายกับการรับประทานของหวานทั่วไป แต่จะมีขนมหวานบางชนิดที่จำกัดให้รับประทานเฉพาะช่วงหน้าเทศกาล หรือ ตามประเพณี ซึ่งแต่ละพื้นที่จะแตกต่างออกไป ขนมบดินทร์ เค้กโบราณสูตรเฉพาะชาวมุสลิมภาคกลาง ต้นกำเนิดจากชาวมุสลิมซอยสวนพลู มักจะกินในเทศกาลงานบุญและงานมงคลของชาวมุสลิม ชุมชนมุสลิมนั้นมีมาตั้งแต่สมัยสมัยอยุธยาโดยการเผยแพร่ผ่านพ่อค้าชาวเปอร์เซียเมื่อ 200 ปีมาแล้ว ดังนั้นขนมบดินทร์ จึงมีต้นตำรับจากชาวโปรตุเกสสมัยกรุงศรีอยุธยา กุหลาบจามุน หรือกุหลายยามุน ขนมหวานอินเดียตอนใต้ มักมีในเทศกาลงานเลี้ยงสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นงานเกี่ยวกับศาสนา งานแต่งงาน งานวันเกิด นิยมทานคู่กับชา และไอศกรีม ถึงแม้ว่าศาสนาอิสลามจะเผยแพร่มากับทางพ่อค้าชาวเปอร์เซีย แต่ความเป็นมุสลิมก็ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดียในช่วงเวลาต่อมาเช่นเดียวกัน

ซาโมซ่า ขนมแป้งทอดรูปสามเหลี่ยม นิยมทำเป็นไส้จากผัก อาทิ มันฝรั่ง หัวหอม ผักชี และถั่วลันตา นอกจากไส้ผักยังสามารถเป็นไส้อื่นได้เช่นเดียวกันตามความนิยม โดยซาโมซ่าเป็นขนมที่รู้จักในหลายประเทศอย่างอินเดีย ปากีสถาน เนปาล และบังคลาเทศ จอร้อ หรือ ก้วยจอร้อ กวย (kue) เป็นคำอาบาซาที่เพื้อนมาจาก ก้วย ที่หมายถึงอาหารหรือขนมที่มีส่วนประกอบของแป้ง พบว่าในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ก็มีจอร้อเช่นเดียวกัน โดยในแต่ละพื้นที่ก็จะมีการดัดแปลงใส่ไส้หรือโรยหน้าต่าง ๆ แตกต่างกัน นอกจากอินเดีย เปอร์เซีย แล้วจังหวัดทางภาคใต้ยังมีการผสมผสานวัฒนธรรมจากมาเลเซีย และอินนีเซีย อย่างขนมอาโป้ง ขนมพิ้นเมืองชาวมาเลเซีย และได้แพร่หลายมาในจังหวัดภูเก็ต โดยนิยมรับประทานคู่กับชาและกาแฟยามเช้า โดยเรียกว่าหวันฉ่าย ขนมปุหงาปูดะ หรือ ดอกลำเจียก ขนมพื้นเมืองของจังหวัดสตูล ใช้ในงานสำคัญ โดยมีลักษณะสี่เหลื่อมคล้ายหมอน ทำด้วยมะพร้ามทึนทึก และแป้งข้าวเหนียวผสมด้วยน้ำตาล เกลือ น้ำ และกะทิ เมื่อดูแล้วอาจจะคล้ายกับขนมไทย ไม่ต้องสงสัยเพราะจริงๆ แล้วก็ปรับเปลี่ยนมาจากขนมไทยนั่นเอง ขนมหวานมุสลิมนั้นหากไปชิมแต่ละที่ ก็จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปเพราะการรับวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย